ประเภทบ้านและที่ดิน เพื่อใช้ในการลงทุน
ประเภทบ้านและที่ดิน เพื่อใช้ในการลงทุน
เนื่องจาก บ้าน และ ที่ดิน มีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทก็มีลักษณะเฉพาะตัวเหมาะสมกับการลงทุนแตกต่างกัน ดังนั้นผู้ลงทุนใน บ้าน และ ที่ดิน จึงมีความจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกประเภทบ้านให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ด้วย ทั้งนี้บ้านที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจแยกออกได้เป็น 8 ประเภทด้วยกันคือ
1. บ้านเดี่ยว (Single-Family Homes) เป็นแบบบ้านที่อยู่อาศัยที่มีคนนิยมมากที่สุด ลักษณะเป็นบ้านตั้งอยู่เดี่ยว ๆ มีเนื้อที่กว้างขวางรั้วรอบขอบชิด ทำให้ผู้อาศัยได้บรรยากาศของความเป็นส่วนตัว และห่างไกลจากการรบกวนของเพื่อนบ้าน บ้านชนิดนี้ปกติแล้จะมีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกันสามารถตกแต่งได้ในรูปแบบต่าง ๆ ตามฐานะและรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของ
2. อาคารพาณิชย์หรือตึกแถว (Shop Houses) เป็นแบบบ้านอีกลักษณะหนื่งที่ได้รับความนิยมมากในแถบชุมชนเมือง เพราะนอกจากจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้แล้ว ยังสามารถดัดแปลงให้เป็นสถานที่ทำการค้าหรือธุรกิจได้ด้วย อาคารแบบนี้มักมีเนื้อที่แคบ จึงนิยมก่อสร้างหลาย ๆ ชั้น
3. ทาวน์เฮาส์ (Town house) เป็นบ้านที่มีลักษณะเหมือนตึกแถวบ้านประเภทนี้มักตั้งอยู่ในเมือง ต่างกับตึกแถวตรงที่มีบริเวณหน้าบ้านจัดเป็นสวนขนาดย่อมและจอดรถได้ ทาวน์เฮ้าส์ส่วนใหญ่มักเป็นแบบ 2-3 ชั้น ใช้เนื้อที่ค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นที่ในเมืองและมีราคาแพง
4. แฟลตหรืออพาร์ทเม้นท์ (Flat or Apartment) เป็นที่อยู่อาศัยที่มีลักษณะคล้ายอาคารพาณิชย์ คือมีหลาย ๆ ชั้น แบ่งเป็นหลายยูนิต วัตถุประสงค์เพื่อให้เช่า ปกติแล้วที่อยู่อาศัยแบบนี้ ค่าเช่ามักสูง เพราะตั้งอยู่ในทำเลที่ดีและมีสิ่งอำนวยความสะดวก ความปลอดภัยครบ
5. คอนโดมิเนียม (Condominium) หรืออาคารชุด เป็นอาคารที่มีหลายชั้น แต่ละชั้นแบ่งเป็นห้องชุดจำนวนมาก ซึ่งภายในห้องประกอบด้วยห้องนอน ห้องรับแขก ห้องนำ ฯลฯ อาคารชุดแต่ละแห่งมักมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วน โดยทั่วไปแล้วอาคารชุดจะตั้งอยู่ในกลางเมือง หรือในที่ชุมชนที่มีการคมนาคมสะดวก อาคารชุดมีหลายประเภท ทั้งประเภทที่อยู่อาศัย (Residential Condominium) และประเภทสำนักงาน (Office Condominium) ผู้ซื้ออาคารชุดจะมีกรราสิทธิ์เป็นเจ้าของอาคารชุดของตน และมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินส่วนกลาง อันได้แก่ ห้องโถง ที่จอดรถ ลิฟต์ สนาม และทางเดิน เป็นต้น ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์สินส่วนกลาง ผู้เป็นเจ้าของอาคารชุดจึงต้องร่วมกันรับผิดชอบ
6. สหกรณ์เคหสถาน(Cooperative Housing) เป็นที่อยู่อาศัยแบบสหกรณ์ ลักษณะเป็นอาพาร์ตเมนต์เพล็กซ์ คล้ายคอนโดมิเนียม ที่อยู่อาศัยประเภทนี้ เกิดขึ้นโดยผู้ต้องการที่อยู่อาศัย จะลงทุนซื้อหุ้นของสหกรณ์และสหกรณ์จะนำเงินนั้นไปซื้อที่ดินและสร้างอาคารให้สมาขิกได้เช่าอยู่ สมาชิกต้องช่วยกันออกค่าบำรุงรักษา ซ่อมแซม ค่าภาษี สมาชิกแต่ละหน่วย มีสิทธิออกเสียงได้หนึ่งเสียงในการเลือกตั้งกรรมการบริหาร
7. บ้านเคลื่อนที่ (Mobile Home) บ้านชนิดนี้ ในเมืองไทยมักไม่ค่อยคุ้นเคยกัน แต่ในต่างประเทศมีมานานแล้ว ลักษณะเป็นบ้านที่สร้างสำเร็จรูปจากโรงงาน และย้ายมาติดตั้งในทำเลที่กำหนดให้เป็นพื้นที่ของบ้านเคลื่อนที่ ผู้ที่เริ่มตั้งครอบครัวใหม่นิยมอยู่บ้านเคลื่อนที่ เพราะราคาไม่แพงนัก บางคนก็ใช้บ้านเครื่องที่เป็นสำนักงานเคลื่อนที่ เช่น ผู้รับเหมาเวลาไปรับเหมาก่อสร้างตามแหลงรับเหมาต่าง ๆ บ้านแบบนี้สามารถขับเคลื่อนหรือพ่วงกับรถคันอื่นได้ ลักษณะภายในมีเครื่องอำนวยความสะดวกเหมือนบ้านทั่วไป บ้านแบบนี้บางทีนิยมใช้เป็นบ้านของดาราภาพยนตร์ หรือนักแสดงซึ่งต้องเดินทางเสมอ ก็จะซื้อรถขนาดใหญ่ปรับปรุงภายในให้เหมือนบ้าน คือ มีห้องนอน ห้องเตรียมอาหาร ห้องน้ำ เพียงแต่ละห้องมีขนาดเล็กเท่านั้น สำหรับผู้ที่ชอบท่องเทียวทัศนาจร บริษัทท่องเที่ยวบางแห่งก็จะมีรถยนต์ให้เช่า ซึ่งจะตกตกแต่งภายในเหมือนบ้านอยู่อาศัย ขับไปท่องเที่ยวในที่ต่าง ๆ ได้ บ้านลักษณะนี้เรียกว่า Motor Home นิยมใช้กันมากตามเมืองท่องเทียว และใช้มากในช่วงของฤดูกาลท่องเที่ยว ซึ่งผู้ใช้จะสามารถประหยัดค่าโรงแรกที่พักได้มาก เพราะไปกันได้หลายคน และใช้ได้ในช่วงเวลายาวนานอีกด้วย
8. บ้านที่แบ่งเวลาการพักอาศัย (Time-Share Homes) บ้านแบบนี้ตามชื่อก็บอกลักษณะให้ทราบว่ามีการแบ่งเวลาหรือหมุนเวียนกันใช้ประโยชน์ในบ้านพักอาศัยดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการพักผ่อน เช่น บ้านพัก หรือเรือนรับรอง ที่อยู่ตามชายหาด หรือแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ โดยมีบุคคล บริษัท หรือโครงการจัดสรรเป็นเจ้าของ ใครต้องการไปพักผ่อนในช่วงไหน ก็ขอเช่าใช้บ้านพักในช่วงนั้น ซึ่งจะมีการแบ่งเวลากันในระหว่างผู้ต้องการใช้ มีตั้งแต่ 1 สัปดาห์ จนถึง 6 เดือน ราคาค่าเช่าก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า ระยะเวลาในการเช่า ขนาดของบ้าน ทำเลที่ตั้ง สิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดตนฤดูกาลของการเช่าพัก
ปัจจุบันมีคอนโดมิเนียมบางแห่ง ซึ่งได้ขายไปแล้ว ก็ยังให้บริการในลักษณะของ Time Sharing ด้วย คือขณะหนึ่งขณะใดที่เจ้าของไม่ได้อยู่เอง ก็มอบหมายให้ผู้จัดการคอนโดมิเนียมนั้นดูแลให้ โดยหาผู้ที่ต้องการพักผ่อนในช่วงดังกล่าวมาเช่าอยู่แทนซึ่งทำให้เจ้าของมีรายได้ในขณะที่ไม่ได้ใช้อยู่อาศัยเองเพียงแต่จ่ายค่าบริการจัดการดังกล่าวบ้างเท่านั้น นอกจากนั้นรูปแบบที่เคยมีการดำเนินการกัน ยังมีการขายสถานที่พักตากอากาศในลักษณะของคอนโด เช่น (Condo chain)กล่าวคือเจ้าของกิจการคอนโดเซน จะมีการจำหน่ายห้องกัดตากอากาศ ซึ่งตั้งอยู่ตามสถานที่ตากอากาศหลาย ๆ แหล่ง ผู้ที่ซื้อห้องชุด ณ สถานที่ตากอากาศแห่งหนึ่ง จะได้ใช้สิทธิในการใช้ห้องพักของโครงการเดียวกันซึ่งตั้งอยู่ ณ สถานที่ตากอากาศอื่นได้ฟรีปีละกี่วัน ตามที่เจ้าของโครงการกำหนด อย่างไรก็ดีแนวคิดในเรื่อง Time-Share Home เป็นเรื่องที่มีแง่มุมทางกฎหมายอยู่หลายเรื่อง ดังนั้นผู้ที่ลงทุนในที่อยู่อาศัยลักษณะนี้ควรจะได้มีการปรึกษาผู้รู้ในด้านกฎหมายอย่างละเอียดเสียก่อน
***********************